องค์การพัฒนาเอกชนและไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Governmental & Non-Profit Organization)
ศูนย์บริการปรึกษาแนะนำทางจิตวิทยา (Psychological Counseling Center)
ศูนย์ให้ความช่วยเหลือในภาวะวิกฤต (Crisis Center)
องค์การที่มุ่งเน้นบริการผู้หญิง (Women-Oriented Organization)
สถาบันฝึกอบรมทางจิตวิทยา (Training School for Psychology)
คลินิกจิตบำบัด (Private Practice Clinic in Psychotherapy)
มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์มีเป้าหมายที่มุ่งจะให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการผ่านกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำและจิตบำบัด (Counseling and psychotherapy) เพื่อให้บุคคลสามารถช่วยเหลือตนเอง และผู้อื่นได้ต่อไปในอนาคต และยังมุ่งพัฒนานักวิชาชีพที่นำเทคนิคการให้คำปรึกษาแนะนำมาให้บริการประชาชน เพื่อให้เทคนิคนี้เป็นที่ยอมรับในสังคมไทย ถึงแม้การให้บริการของมูลนิธิฯ จะเปิดกว้างแก่ประชาชนทั่วไป แต่เรายังมีนโยบายหลักที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้หญิง เด็ก วัยรุ่น และครอบครัวที่ด้อยโอกาสในสังคม
วัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิสรุปได้สองประการใหญ่ คือ
ประการแรก เพื่อให้บริการปรึกษาแนะนำปัญหาด้านสุขภาพจิต ชีวิต และโรคเอดส์แก่ประชาชนทุกระดับ เพื่อลดความตึงเครียด และสนับสนุนให้บุคคลสามารถดูแลปกป้อง ตนเองและครอบครัวได้ในขณะเดียวกันก็มุ่งพัฒนาระบบโครงสร้างการติดต่อสื่อสารของสังคมไทยไปสู่รูปแบบของการติดต่อสื่อสารสองทาง (Two-way communication) เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
ประการที่สอง เพื่อส่งเสริมวิชาชีพทางการให้คำปรึกษาแนะนำ (Counseling) ซึ่งให้บริการโดยนักวิชาชีพทางสังคมจิตวิทยาหรือนักวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้เป็นที่ยอมรับของผู้คนในสังคมไทย โดยสนับสนุนทั้งทางด้านข้อมูล การศึกษาวิจัย และการฝึกอบรม ทั้งนี้มูลนิธิไม่มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ศาสนาหรือดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด
ศูนย์ฮอทไลน์ ก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือของผู้หญิงกลุ่มหนึ่ง (คุณอาติ โมฮินดรา, คุณนิรมล พฤฒาธร, อาจารย์ ปิยะลักษณ์ สิมะแสงยาภรณ์ เป็นต้น) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ อรอนงค์ อินทรจิตร เป็นผู้อำนวยการและบริหารโครงการ นับตั้งแต่ปลายปี 2527 เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร ในช่วงแรกมีนโยบายที่จะให้บริการเฉพาะผู้หญิงด้อยโอกาส ตลอดจนกลุ่มวัยรุ่นทั่วไป เนื่องจากตระหนักว่าผู้หญิงและแม่บ้านทั่วไปใช้เวลาส่วนใหญ่ในการปรนนิบัติสามี และดูแลลูก ๆ และยังอาจต้องทำงานเพื่อหาเงินมาจุนเจอครอบครัวด้วย จนแทบไม่มีเวลาจะให้กับตนเอง โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาความทุกข์หรือความคับข้องใจ อาจไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร ไม่สามารถและไม่กล้าพอจะไปขอรับบริการจาก แพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วไปได้ นอกจากนั้นยังมีปัญหาความยุ่งยากและการเสียเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ตลอดจนเวลาที่ยาวนานในการรอพบแพทย์ อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทำให้ผู้หญิงแม่บ้านส่วนใหญ่หมดกำลังใจและขาดโอกาส ในการรับบริการ แต่ทำให้ต้องสะสมความเครียด เกิดความเก็บกด เป็นภาระทางจิตใจทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เมื่อให้บริการไปเพียงระยะไม่กี่เดือน ผู้ชายที่เป็นทั้งคู่สมรส และผู้ที่มีปัญหาส่วนบุคคลได้เข้ามาขอใช้บริการด้วย ดังนั้นจึงทำให้บริการนี้เปิดกว้างแก่ประชาชนทั่วไปที่มีปัญหา แต่เน้นกลุ่มของผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคมก่อน อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือต้องเกิดขึ้นจากทั้งผู้ใช้บริการและนักวิชาชีพด้วย
การที่ผู้คนในสังคมไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับการใช้บริการสุขภาพจิตทางมูลนิธิฯ จึงต้องให้บริการไปพร้อมกับการให้ความรู้ความเข้าใจว่าสามารถใช้บริการได้อย่างไร และส่งเสริมวิชาชีพทางด้านจิตวิทยาและจิตเวชที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของประเทศ ผู้คนส่วนใหญ่จึงคิดว่าสุขภาพจิตเป็นเรื่องไกลตัวที่จะไปปรึกษาใคร บริการของมูลนิธิฯ จึงเริ่มต้นโดยการใช้โทรศัพท์เป็นสื่อกลาง ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถประหยัดเวลา ปรึกษาได้ทันที ประหยัดเงิน เพราะให้บริการฟรี และไม่จำ เป็นต้อง เปิดเผยตนเองหรือชื่อที่แท้จริงของผู้ใช้บริการ (Anonymity) ชั่วระยะเวลาไม่นาน บริการก็เป็นที่นิยมและยอมรับของผู้คนในสังคมอย่างกว้างขวางจากวันที่เริ่มต้นจนถึงทุกวันนี้ ปริมาณบริการได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยได้สนับสนุนโทรศัพท์ที่สามารถโทรฯ เข้าฟรีได้จากทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2539 บริการของ ศูนย์ฮอทไลน์แพร่กระจายไปอย่างทั่วถึงทุกมุมของประเทศ และเข้าสู่ชนทุกกลุ่มด้วยบริการที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือเสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด
สำหรับการขยายสาขาศูนย์ฮอทไลน์ในต่างจังหวัด ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่ที่เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือในปี 2529 ภาคใต้ที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลาและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดขอนแก่น ในปี 2530 แต่ศูนย์ฮอทไลน์ทุกสาขาในต่างจังหวัดขณะนี้หยุดให้บริการ เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณและบุคลากร นอกจากนั้น ศูนย์ฮอทไลน์ยังเป็นตัวแบบ (Model) ให้องค์การภาครัฐบาลและเอกชนหลายจังหวัดทั่วประเทศ ได้หันมาสนใจศึกษาเรียนรู้ อีกทั้งเปิดให้บริการกับประชาชนได้เช่นเดียวกัน
นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ศูนย์ฮอทไลน์กรุงเทพฯ และสาขาต่างจังหวัดได้เปิดบริการให้ข้อมูลและให้คำปรึกษาแนะนำเอชไอวี/เอดส์ (HIV/AIDS Counseling) เพิ่มขึ้นโดยเน้นกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์และสมาชิกในครอบครัว กลุ่มผู้หญิงและวัยรุ่น ตลอดจนประชาชนทั่วไป ด้วย โดยใช้ชื่อว่า คลินิกเอชไอวี/เอดส์ (Hotline HIV/AIDS Counseling Clinic) และในปี 2536 ได้เปิดบ้านพักของวันพรุ่งนี้ (The House of Tomorrow) ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นบ้านพักชั่วคราวสำหรับผู้หญิงและเด็กที่ประสบ ปัญหาในภาวะวิกฤต เหยื่อความรุนแรงในครอบครัว เหยื่อการค้ามนุษย์ รวมทั้งผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวี/ป่วยเอดส์
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ | วะสี | ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา |
คุณหญิง จำนงศรี | หาญเจนลักษณ์ | กรรมการที่ปรึกษาทั่วไป |
แพทย์หญิง สุพัฒนา | เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา | กรรมการที่ปรึกษาทั่วไป |
อาจารย์ ดาราวรรณ | ธรรมารักษ์ | กรรมการที่ปรึกษาทั่วไป |
คุณเสาวนีย์ เวชชาชีวะ | เชาวน์ชูเวชช | กรรมการที่ปรึกษาทั่วไป |
รองศาสตราจารย์ ดร. สุวัจฉรา | เปี่ยมญาติ | กรรมการที่ปรึกษาทั่วไป |
อาจารย์ ปิยะลักษณ์ | สิมะแสงยาภรณ์ | กรรมการที่ปรึกษาทั่วไป |
คุณวรนุช | โตเจริญ | ที่ปรึกษาด้านการบัญชีและการเงิน |
คุณเชาวลิต | สวัสดิรักษา | ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย |
พ.ต.อ.ทัศนัย | โอฬาริกเดช | ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย |
ผศ.พิเศษ อรอนงค์ | อินทรจิตร | ประธานกรรมการบริหาร |
อาจารย์ ดร. มาร์จอรี | สุริยะมงคล | รองประธานกรรมการ |
คุณสรัญญา | พฤฒิธรรมกูล | เหรัญญิกและกรรมการ |
อาจารย์ ดร.นรินทร์ | กรินชัย | เลขาธิการและกรรมการ |
ผศ.พิเศษ อรอนงค์ | อินทรจิตร | ผู้อำนวยการและนักจิตบำบัด |
อาจารย์ ดร.นรินทร์ | กรินชัย | รองผู้อำนวยการและนักจิตวิทยา |
อาจารย์ ดร. อนงค์ภาณุช | ปะนะทังถิรวิทย์ | นักจิตวิทยา |
อาจารย์ กมลเศรษฐ์ | เก่งการเรือ | นักสังคมสงเคราะห์ |
อาจารย์ สมชาติ | ทาแกง | นักจิตวิทยา |
อาจารย์ ปฏิญญา | สุริวงศ์ | นักพัฒนาบุคลากร |
อาจารย์ ปฏิมา | ไทยสม | นักพัฒนาบุคลากร |
นายเทพลักษณ์ | กรินชัย | นักกฎหมาย |
1) บริการให้คำปรึกษาแนะนำและการทำจิตบำบัด (General Psychological Counseling and Psychotherapy Service) ทั้งในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ให้บริการประเภทต่าง ๆ ดังนี้ คือ
การให้คำปรึกษาแนะนำทางโทรศัพท์ (Telephone Counseling) ปรึกษาปัญหาชีวิต ครอบครัว วัยรุ่น โรคเอดส์ และสุขภาพจิตทั่วไป โดยนักจิตวิทยา ฮอทไลน์สายด่วน โทรฟรีทั่วประเทศ 0-2277 8811, 0-2277-7699 (ฟรีเฉพาะเครื่องโทรศัพท์สาธารณะแบบหยอดเหรียญ โทรศัพท์ที่ติดตั้งโดย TOT โทรศัพท์มือถือระบบในเครือ AIS และ DTAC)
การให้คำปรึกษาแนะนำผ่านทางอีเมล์และเว็บไซต์ (By E-Mail and Webpages) ในยุคแรก บริการนี้มีไว้ให้แก่ประชาชนซึ่งไม่สะดวกในการติดต่อโดยใช้โทรศัพท์ แต่สามารถส่งจดหมายปรึกษาได้ ปัจจุบันพัฒนามาเป็นการให้บริการผ่าน E-mail: hotlinecenter@hotmail.com และเว็บไซต์ www.hotline.or.th
การนัดหมายมาพบ (Meeting by Appointment) เป็นการให้คำปรึกษาแนะนำรายบุคคลและการทำจิตบำบัดเป็นรายกลุ่ม เช่น กลุ่มพัฒนาบุคลิกภาพ วัยรุ่น ผู้ปกครองที่มีปัญหาลูกวัยรุ่น หญิงชายขายบริการทางเพศ หลากหลายทางเพศ ภรรยาที่มีปัญหาเรื่องสามี รวมทั้งยังมีคู่สมรสและครอบครัว สำหรับการพัฒนาสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น บริการนี้ต้องนัดหมายเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสที่มีฐานะยากจน รายได้น้อยสามารถเข้าถึงบริการได้ฟรี ได้แก่ เด็กและวัยรุ่น นักเรียนนักศึกษา คนว่างงาน หรือเป็นกรณีการขอความช่วยเหลือของผู้หญิงและเด็กด้อยโอกาส หรือเป็นกรณีของเหยื่อในเป็นภาวะวิกฤต เช่น ผู้หญิงที่ถูกข่มขืน ถูกกระทำทางเพศ แม่บ้านที่ถูกทุบตี พยายามฆ่าตัวตาย เด็กที่ถูกทารุณกรรม เด็กเร่ร่อน เป็นต้น
การให้คำปรึกษาแนะนำผ่านทางอีเมล์และเว็บไซต์ (By E-Mail and Webpages) ในยุคแรก บริการนี้มีไว้ให้แก่ประชาชนซึ่งไม่สะดวกในการติดต่อโดยใช้โทรศัพท์ แต่สามารถส่งจดหมายปรึกษาได้ ปัจจุบันพัฒนามาเป็นการให้บริการผ่าน E-mail: hotlinecenter@hotmail.com และเว็บไซต์ www.hotline.or.th
2) การเผยแพร่ข้อมูลโดยเอกสารสิ่งพิมพ์ (Publication) โดยมูลนิธิฯ จะผลิตเอกสารและตำราเพื่อเป็นข้อมูลทางการศึกษาทางจิตวิทยาและบริการสังคม เช่น ตำราวิชาการและหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คที่ให้ความรู้ด้านจิตวิทยา การให้คำปรึกษาแนะนำ ผู้หญิง ครอบครัว และโรคเอดส์ เป็นต้น
3) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางสื่อมวลชน (Public Relation on Psychology and Social Service)
เป็นการร่วมผลิตรายการทางสื่อมวลชนสาขาต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ วิดีโอ นิทรรศการ เป็นต้น ตามคำเชิญของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน4) ฮอทไลน์สายเอดส์ (AIDS Hotline) โดยศูนย์ฮอทไลน์เริ่มบริการด้านเอดส์ในปี 2532 และเปิดฮอทไลน์สายเอดส์ในปี 2534 เพื่อให้ความรู้พื้นฐานด้านเอดส์ ให้คำปรึกษาแนะนำ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ป่วยเอดส์ โดยการสนับสนุนจากกองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข (สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในปัจจุบัน) และองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (TOT ในปัจจุบัน) ซึ่งผู้ใช้บริการจากทั่งประเทศ สามารถใช้บริการได้ฟรีในเครือ ข่ายโทรศัพท์ของ TOT, AIS และ DTAC ปัจจุบันใช้หมายเลขบริการเดียวกับฮอทไลน์สายด่วน ที่ให้บริการทางจิตวิทยา
5) สายด่วนสุภาพบุรุษ (Men’s Hotline) มูลนิธิเปิดให้บริการสายด่วนสุขภาพบุรุษในปี 2542 เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำและจิตบำบัดแก่ผู้ชายที่ก่อความรุนแรงในครอบครัว หรือเคยรู้เห็นหรือเป็นเหยื่อจากความรุนแรงในครอบครัวทุกรูปแบบ โดยการสนับสนุนขององค์การพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ UNIFEM (UNWomen ในปัจจุบัน) และ The Asia Foundation ทำให้มีผู้ชายที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวจำนวนมากเข้ามาปรึกษา พร้อมกันนี้ยังได้ศึกษาพฤติกรรมการก่อความรุนแรงของผู้ชายไทย ปัจจุบันบริการนี้ใช้หมายเลขบริการเดียวกับฮอทไลน์สายด่วน ที่ให้บริการทางจิตวิทยา
6) บริการด้านการฝึกอบรมทางจิตวิทยาของสถาบันจิตวิทยาฮอทไลน์ (Hotline Institute of Psychology) เพื่อให้บริการวิชาการและพัฒนาวิชาชีพของนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ทำหน้าที่ด้านการให้คำปรึกษาแนะนำ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน หรือหน่วยงานอื่นที่สนใจในด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาแนะนำ โรคเอดส์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การสร้างทัศนคติในทางบวกเพื่อเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิต หลักสูตรฝึกอบรมเหล่านี้จัดเพื่อให้บริการแก่นักวิชาชีพทั้งในและจากต่างประเทศที่ต้องการมาเรียนรู้ประสบการณ์ของมูลนิธิฯ