มูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์ ปรึกษาปัญหาชีวิต และโรคเอดส์ โทรฟรีทั่วประเทศ
ผลกระทบจากการได้รับความรุนแรงทางกาย วาจา ใจ และเพศ จากวัยเด็ก

เรียนอยู่ม.6 แผนวิทย์คณิต(Gifted) โรงเรียนหญิงล้วนแห่งหนึ่ง ตอนนี้มีปัญหาด้านการเรียนและเครียดอย่างหนัก -เวลาเรียนไม่สามารถนั่งเรียนในห้องเรียนไดอย่างเต็มที่โดยเฉพาะวิชาที่ไม่ชอบหรือไม่ได้ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นอย่างนี้เรื่อยๆตั้งแต่ม.4 และหนักขึ้นทุกวัน จนม.5ติด0 1วิชา เกรดวิชาวิทย์คณิตทุกวิชาได้ไม่เกินเกรด2.5 จริงๆแล้วซ้ำชั้นเพราะมีปัญหากับพ่อ ตอนอยู่ม.3โรงเรียนเก่าสอบติดแผนจีนแต่ไม่อยากอยู่กับพ่อเลยไม่เอา แล้วย้ายมาอยู่กับตายายเพื่อเรียนซ้ำชั้นม.3 1ปี เพื่อสอบเข้าแผนวิทย์ให้ได้ทั้งๆทีลึกๆไม่อยากอยู่สายวิทย์ แต่ทำไปเพราะไม่อยากผิดคำพูดที่เคยพูดไว้ว่า'อยากเป็นหมอ' ประกอบกับ ทางบ้าน(แม่)อยากสนับสนุนถ้าจะเป็น แต่พอมาเรียนในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง ยิ่งเรียนก็ยิ่งฝืน เบื่อหน่ายจนทนแทบไม่ไหว อยากย้ายแผนการเรียน แต่มีเพื่อนห้องเดียวกันที่ผู้ปกครองสนับสนุนในความอยากย้ายแผนของเขา ไปคุยกับ(ซิสเตอร์)ผู้อำนวยการ แต่ไม่ได้ย้าย พอเราเห็นแบบนั้นเลยไม่กล้าขอย้าย พยายาม'ทน'เอา -มีปัญหาเรื่องตื่นนอนยากและหลับยากอย่างหนัก เริ่มเป็นตั้งแต่ม.2จนหนักขึ้นเรื่อยๆ พยายามแก้หลายครั้งแต่ไม่หาย เช่นไปพบจิตแพทย์,ปรับเวลานอน/ตื่น:เคยทำได้ช่วงสั้นๆ แต่หนักขึ้นเรื่อยๆจนปัจจุบันยังแก้ไม่หาย เวลาตื่นจะไม่อยากลุกไปเจอสิ่งรอบตัว เวลานอนจะนึกถึงแต่ความทรงจำแย่ๆ เป็นบ่อยช่วงเครียดหรือเหนื่อยล้า นอนเร็วนอนช้ามีค่าเท่ากัน -มีแผนการเรียนคือ เรียนต่อป.ตรี ในมหาลัยรัฐบาล ในสาขาด้านการออกแบบ ซึ่งสาขาการออกแบบด้านนี้มีมหาลัยเดียวที่จัดอยู่ในคณะด้านศิลป์ และแน่นอนว่าเด็กวิทย์อย่างเรา ต้องเตรียมตัวอย่างหนัก เพื่อเข้าคณะนี้ื แต่มีหลายเหตุผลที่ไม่เอื้ออำนวยเนื่องจาก 1)อยู่หอพักที่โรงเรียนจัดไว้ ไม่มีห้องไหนที่เป็นของตัวเอง ไม่มีสามารถรวบรวมสมาธิได้ มีกล้องวงจรปิดในหอ นอนไม่เกิน3ทุ่ม คุณครูจะมาตรวจทุกวัน ถ้าไม่นอนต้องอยู่อีกห้องเพื่ออ่านหนังสือ(ร่วมกับคนอื่น) ต้องตื่นตี3เพื่อมาอ่านหนังสือคนเดียวเงียบๆแต่ทำไม่ไหว ทำได้แค่ช่วงสั้นๆ พยายามขอที่โรงเรียนอยู่หอใน(เพราะค่อนข้างเข้มงวดเรื่องโทรศัพท์) แต่โรงเรียนไม่ให้อยู่ บอก'ไม่รับเด็กที่ดูแลตัวเองได้แล้ว' ขอที่บ้านอยู่หอเช่าเอง ที่บ้านไม่วางใจ+โรงเรียนบังคับให้อยู่ที่พักที่โรงเรียนจัดไว้ให้ ถ้าไม่อยู่ต้องเซ็นสัญญาตกลงกับทางโรงเรียน 2)เรียนหนัก กิจกรรมเยอะ(เป็นโรงเรียนคริสต์) เลิกเรียนไม่ต่ำกว่า4โมงเย็นทุกวัน มัธยม1-5ต้องเรียนพิเศษวันเสาร์ด้วยโรงเรียนบังคับ งานเยอะ(โดยเฉพาะม.6การบ้านแทบทุกวัน) มีการเรียนวิชาจริยธรรม และผู้บำเพ็ญประโยชน์ อย่างละ1คาบต่อสัปดาห์ ซึ่งส่วนตัวคิดว่าไม่จำเป็น มีกิจกรรมที่โรงเรียนบังคับให้เข้าร่วมทุกสัปดาห์(คุณครูเคยขอซิสเตอร์ไม่ให้ม.6เข้าร่วมในบางกิจกรรมเพราะมันกินคาบเรียน แต่ซิสเตอร์ไม่ให้) ที่นี่สอนช้า บางบทเรียนโรงเรียนอื่นเรียนไปแล้วแต่เราไม่ได้เรียน(ครูสอนไม่ทัน) ซึ่งก็แปลกใจว่าทำไมไม่ทัน ทั้งๆที่ม.4-5 มีเรียนวันเสาร์

ซี
tareratcare@gmail.com
5 กรกฎาคม 2562 00:08

(ต่อ) -ม.3มีปัญหาไม่ไปโรงเรียนจนขอย่าไปพบจิตแพทย์ แต่รักษาได้ไม่กี่เดือน เพราะเราทนการถูกพ่อทำร้ายร่างกาย กับคำพูดที่ว่า'เปลืองเงิน' ไม่ไหว สุดท้ายเลยได้ย้ายมาอยู่กับตาและยาย(เลี้ยง) -ม.5มีปัญหาตื่นสาย เพื่อน และอื่นๆหนักมาก คุณครูมาเกลี้ยกล่อมให้ไปหาจิตแพทย์ ก็ไปหาหมอ กินยาตามปกติ อาการตื่นสายนอนไม่หลับดีขึ้นนิดหน่อย และหมอบอกว่า 'ของหนูมีปัญหาแค่เรื่องปรับตัว ไม่ได้หนักมาก' จนรักษาได้หลายเดือน ทะเลาะกับแม่จนได้รู้ว่า 'รับค่าใช้จ่ายไม่ไหว'เลยต้องหยุดรักษาไป หยุดมาได้3เดือนแล้ว -เคยขที่บ้านย้ายโรงเรียนเพราะแม่ป่วยเป็นไวรัสตับอักเสบบี อยู่ต่างประเทศ การแพทย์ดีก็จริง ทำเงินดีก็จริง แต่ก็ต้องปลกมากับความลำบากที่สาสม พอขอไปอยู่กับย่าที่กรุงเทพ(เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะมีโรงเรียนรัฐบาลหลายแห่งใกล้บ้าน) ย่าก็ไม่ให้อยู่ บอก'เลี้ยงไม่ไหว' แม่(อยู่ต่างประเทศเป็นคนส่งเสีย)ไม่ให้ย้าย สุดท้ายเลยต้องทนอยู่ ด้วยคำพูดที่ว่า 'ทนเอานะลูก' กับ 'อีกแค่ไม่กี่ปี' -ตอนเด็กๆแม่พาหนีพ่อไปฝากให้ใครก็ไม่รู้เลี้ยง โดนทุบที ล่วงละเมิดทางเพศ(แต่เอาตัวรอดได้) โดนต่อว่าและใช้งาน ย้ายบ้านบ่อย เคยอยู่อพาร์ทเม้นท์ย่านสลัมในเขตพระโขนง ไม่ได้ถูกเลี้ยงจากครอบครัวตั้งแต่เด็ก รู้ตัวว่าเปลี่ยนแปลงนิสัยมาตลอด จากเด็กน้อยบ้านนอกนิสัยร่าเริง(ตอนที่อยู่กับตา)ก็กลายมาเป็นเด็กเซื่องซึม จนมีอยู่วันหนึ่งที่รู้ว่าพ่อฟ้องศาลจะเอาเราไปอยู่ด้วยสำเร็จ เราก็รู้สึกดีใจมาก 'เหนื่อยมานานแล้ว' 'จะสบายแล้ว'ตอนนั้นอยู่ป.2ก็คิดแบบนั้น แต่กลับต้องมารู้สึกแย่กว่าเดิมเพราะพ่อเอง ก็ไม่ได้ต่างจากคนอื่น พ่อ ไม่ใช่พ่อที่เคยแอบพาไปเที่ยว และใจดีเหมือนในตอนเด็ก แต่ก็พ่อไม่เคยล่วงละเมิดทางเพศนะ มีแต่โมโหทำร้ายร่างกายและด่าทอเพราะอารมณ์ร้อนเฉยๆ และปัญหาอีกหลายอย่างที่ทำให้คนอื่นพร้อมใจกันพูดว่า'ทำตัวเองทั้งนั้น' 'น่ารำคาญ' 'อยู่ที่ไหนก็มีปัญหา' 'ข้ออ้างของความขี้เกียจ' 'อย่าโทษคนอื่นเลย โทษตัวเองบ้างเถอะ' ฯลฯ จนเปลี่ยนเป็นคนแปลกๆ ไม่สามารถพูดเรื่องที่เป็นปมในใจที่ฝังลึกมาตั้งแต่เด็กออกไปได้ เวลาโดนถาม'เป็นอะไร' 'ทำไมถึง...' แล้วเราตอบไม่ได้ บางคนก็อาจจะคิดว่าเราโกหก แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ เราก็แค่ พูดไม่ได้ แค่นั้นเอง แม้แต่กับจิตแพทย์ หลายครั้งก็พูดไม่ได้ พยายามพูดแล้ว หลายครั้งก็จบลงที่ร้องไห้จนพูดต่อไม่ได้ ปล.ไม่รู้วิธีแก้ไขกระทู้เลยต้องทำแบบนี้

ซี
5 กรกฎาคม 2562 00:44
Post อันดับที่ 1

หนูซี เข้าใจความรู้สึกท้อแท้คับข้องในวัยรุ่นนะคะ ซึ่งเกิดจากการเปี่ยนแปลงฮอโนในวัยรุ่นส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้วัยรุ่นทั้งหญิงชายเกิดอาการหงุดหงิดง่าย อ่อนไหว ร้องไห้ง่าย เครียดจนมีอาการกราดเกรี้ยวควบคุมตัวเองไม่อยู่ อารมณ์แปรปรวน วัยรุ่นมากมายเริ่มมีความสนใจเพศตรงข้าม และวัยรุ่นจำนวนมากร่างกายเรียกร้องต้องการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อบันเทาความเครียดภายใน โดยเฉพาะวัยรุ่นชายที่ผู้คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา เขาจึงสามารถแสดงความต้องการ และความก้าวร้าวทางเพศได้ ส่วนวัยรุ่นหญิงแสดงออกไม่ได้ จึงพยายามคิดไปในเรื่องอื่นหรือพยายามมองข้ามไปจึงกลายเป็นความเก็บกด ไม่สามารถพูดระบายความเครียดทางเพศหรือบอกความรู้สึกความต้องการทางร่างกายกับใคร ๆ รวมทั้งต้องปฏิเสธความต้องการของตนเอง ภาวะเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นหญิงชายทั้งหมด เพียงแต่อิทธิพลของฮอร์โมนชวงนี้มีต่อวัยรุ่นไม่เท่ากัน คนที่สามารถจัดการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ส่วนใหญ่เป็นเพราะผ่านการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัวมาอย่างเป็นระบบ คือระบบทางความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามประสบการณ์ทางการศึกษาที่ครูอาจารย์สั่งสอน และหรือนำประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต มาเปรียบเทียบปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ เช่น นักเรียนทุกคนมักจะมีบางวิชาสองวิชาที่ไม่ชอบและไม่อยู่ในความสนใจเลย แต่เราก็รู้ว่า ถ้าต้องการจะผ่านการสอบครั้งี้ไปได้ ก็ต้องสอบให้ผ่าน นักเรียนก็ต้องพยายามทำความเข้าใจในวิชานี้เพือจะผ่านไปให้ได้หรือ ทำวิชาอื่นทีสามารถนำมาทดแทนกันได้ แต่จะปกิเสธไม่ยอมทำเลย ระบบทางการศึกษาของเราอาจยังไม่เอื้อ ซึ่งเราต้องปฏิบัติตาม กฎระเบียบข้อบังคับตรงนี้ไปให้ได้ คือรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว เช่นเดียวกับการใช้ชีวิตร่วมกับสมาชิกครอบครัวอื่น ๆ เช่น พ่อ แม่ และคุณปู่ย่าตายาย ทุกคนก็ต้องการให้ลูกหลานมีการศึกษาสูง ๆ จบแล้วมีงานทำสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ ทั้ง ๆที่ในอดีตเขาอาจไม่เคยมีโอกาสดี ๆ ดังเช่นที่หนูได้รับอยู่ และพ่อแม่ของเราก็อาจจะมีความทุกข์จากภาระและปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้เขาไม่สามารถจะทำให้ได้ดีกว่านี้เพื่อลูกของเขา การบ่นว่าระบายอารมณ์หรือพฤติกรรมรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะความห่วงใย ความกลัวว่าจะพาลูกไปส่งให้ถึงเป้าหมายใม่ได้ กลายเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นสำหรับพ่อแม่ เพราะฉะนั้นหากหนู พูด สื่อสาร แสดงออกว่ามีความขยัน อดทน สนใจในวิชาที่เรียน จะช่วยให้พ่อแม่สบายใจและจะทำให้เขาดีขึ้น ถึงเราจะเป็นลูก เป็นเด็กยังทำมาหากินไม่ได้ แต่เราก็สามารถแสดงความรัก ความเคารพ ห่วงใย ช่วยแบ่งเบางานในบ้านบ้าง ไม่นิ่งดูดาย ก็จะช่วยให้ความกลัวของพ่อแม่ลดลง พ่อแม่เหนื่อยยากก็อยากได้ลูกเป็นกำลังใจ คือเข้าใจเห็นในสิ่งที่เขาทำ พ่อแม่ส่วนใหญ่พยายามทำดีทีสุดเพื่อลูกเสมอ และเขาอยากให้ลูกรับรู้และมองด้วย ลูกต้องรู้สึกขอบคุณพ่อแม่ในความเหนื่อยยากทั้งปวง เพราะนั้นคือความรักที่เขามีต่อหนูซีนะ หนูเคยคิด และลงมือทำอย่างนี้บ้างหรือเปล่า และอย่างที่หลาย ๆ คนบอกหนูและหนูก็รู้ตัวเองดี ปัญหาของหนูคือ หนูยังไม่กล้าที่จะปรับตัว หนูต้องการให้ทุก ๆ คน ทุก ๆ อย่าง ปรับตัวเข้าหาหนู คิดอย่างนั้นหรือเปล่า วัยรุ่นมากมายก็คิดอย่างนั่น เพราะฉะนั้นลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเริ่มจากความคิด มองพ่อแม่ครูอาจารย์ ด้วยความเข้าใจบ้าง ในความเหนื่อยยากของท่านโดยไม่ต้องให้พ่อแม่บ่นว่า ทำงานช่วยท่านด้วยความเมตตา ไม่ถือสาที่ท่านบ่นว่า ท่านพูดระบายความเครียด ฟังบ้างไม่ฟังบ้าง ทำหน้าที่ของลูกของนักเรียนให้ดีที่สุด ไม่นานวันเวลาเหล่านี้ก็จะผ่าานไป ขอเพียงให้เราตั้งใจทำดี คิดดี พูดดี มีความขยันอดทนก็เท่านั้นเอง ทำได้ไหม คิดดีคือการมองไปข้างหน้าด้วยความหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้นเมื่อเรียนจบ มีงานการทำ นั่นคือความฝันความหวังที่รออยูข้างหน้า เมื่อคิดดีแล้ว จะพูดอะไรก็พูดให้ดีมีสัมมาคาระวะ สุภาพนุ่มนวล รวมทั้แสดงออกเป็นการกระทำที่ดีคือ ช่วยเหลือตัวเองมีความกล้าจะคิดพุดทำในสิ่งดี ๆ อะไรที่ทำให้เราเครียด หมดกำลังใจก็มองข้ามไปบ้าง ให้เข้าใจว่า ทุก ๆ คนรอบ ๆ ตัวเราก้็มีปัญหาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ต้องไปให้ควมสำคํญกับปัญหานั้น ๆ มากเกินไป คือ คิดดี ทุกปัญหามีทางออกเสมอ พูดดีคือ พูดดีคือ พูดกับตัวเองก็ได้ว่า "เราโชคดีที่มีโอกาสเรียนถึงระดับนี้..." ทำดี คือช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานในบ้านบ้าง หรือการบ้านที่ครูให้ต้องพยายามทำให้เสร็จ ไม่เลื่อนหรือหาข้ออ้างไปเรื่อย และที่สำคัญที่บอกว่า อารมณ์อ่อนไหวร้องไห้ง่าย ไม่เป็นไร ยิ่งถ้าอยู่คนเดียว นอนกลางคืนอยากร้องไห้ ร้องไปเลย น้ำตาคือเพื่อนที่ดีที่สุด! มีอะไรปรึกษาไปใหม่ได้ ขอให้มีสติไตร่ตรองให้ดีนะหนูซี่ จะรอจดหมายจาหนูอีก

อาจารย์ อรอนงค์ อินทรจิตร
5 กรกฎาคม 2562 11:48
Post อันดับที่ 2

ต่อ เรื่องความรุนแรงในครอบครัวหนูซี หนูซี หนูรู้สึกว่า ตัวเองเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว จึงทำให้หนูมีทัศนคติทางลบกับคนรอบ ๆ แล้วก็อาจจะคาดว่า เพราะความรุนแรงทางร่างกายคือการถูกพ่อและหรือแม่ลงโทษด้วยการทุบตีทำร้ายเวลาไม่พอใจหรือทำผิด จึงทำให้หนูรู้สึกเหมือนตัวเองมีบาดแผลทางใจด้วยเสมอมา (ไม่มีความรุนแรงทางเพศ) ซึ่งหนูต้องได้รับการทำจิตบำบัดอย่างต่อเนื่อง หรือเด็กที่เคยผ่านแระสบการณ์การเปนเหยื่อความรุนแรง ซี่งพ่อของหนูก็อาจเคยผ่านการเป็นเหยื่อในครอบครัวมาก่อนแต่ไม่ได้รับการบำบัดรักษา สื่อสารโดยตรงไม่เป็น ควบคุมตัวเองไม่ไได้ ถึงวันนี้จึงใช้ความรุนแรงมาเป็เครื่องมือยุติความขัดแย้ง ความไม่พอใจ หรือใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือในการควบคุมลูก เพื่อแสดงอำนาจเหนือลูกนั่นเอง กรณีของหนูซี ก็พอจะมีโอกาสพบจิตแพทย์เพื่อรับการบำบัดรักษา แต่เพราะไม่มีเงินพอจะจ่ายค่าบริการตรงนี้ได้ จำนวนจิตพทย์ในประเทศไทยมีน้อยมาก เมื่อเทียบความปัญหาและความต้องการของประชาชน ทั้งคณะรัฐมนตรี คณะรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจนถึงวันเวลานี้ ก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงความต้องการด้านสุขภาพจิตของประชาชน และเพราะประชานเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือของจิตแพทย์และนักวิชาชีพด้านสังคมจิตวิทยา ปัญหาเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ในชุมชนและในสังคม จึงมีให้เห็นอยู่มากมายในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อได้อ่านจดหมายของหนูซีแลว อาจารย์ก็รู้ว่า หนูต้องการพบจิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง แต่หลายครั้งที่ส่งไป ก็ไม่ได้ดูแลคนไข้อย่างที่คาดหวัง เพราะจิตแพทย์มีจำกัด คนมีเงินจึงได้บริการก่อน คนที่ถูกส่งไปจึงต้องเสียเงินค่าบริการสูงไปด้วย ลำพังหน่วยงานของอาจารย์อรอนงค์ คือมูลนิธิศูนย์ฮอทไลน์เคยให้บริการจิตบำบัดและให้บริการปรึกษแนะนำมานานกว่า 30 ปี โดยไม่คิดเงิน สุดท้ายก็ต้องลดและยกเลิกบริการบางส่วนไปในที่สุด เพราะทุกรัฐบาลที่ผ่านมาไม่เคยสนใจบริการเพื่อประชาชนด้านนี้ ด้วยเหตุนี้ เมื่ออาจารยยย์ได้อ่านจดหมายของหนูซี คำถามเกิดขึ้นคือ หนูซีจะต้องไปขอรับบริการด้านนี้จากที่ไหน - ไม่มีนะ ที่ฟรีน่ะ! หรือถ้ามี หนูจะยอมหยุดเรียนเพื่อรักษาตัวเองให้หาขาดได้หรือไม่? เพราะฉะนั้นอาจารย์จึงเริ่มต้นที่การช่วยให้หนูซี่ตั้งสติ เริ่มตรวจสอบพฤติกรรม ความคิดและการกระทำของตนเอง เพื่อทบทวนเรื่องราว และสะสมข้อมูลเกี่ยวกับคนในวัยรุ่นเป็นพื้นฐานที่แต่ละคนสามารถทำได้โดยไม่ต่องพบแพทย์ก่อนจะตัดสินใจก้าวต่อไป นั่นคือกระบวนการบำบัดจิตด้วยตนเองอย่างง่าย ๆ นั่นเอง ถ้าต้องการเพิ่มเติมข้อมูลก็เขียนไปได้อีกนะคะ

อาจารย์ อรอนงค์ อินทรจิตร
5 กรกฎาคม 2562 13:26
Post อันดับที่ 3

ขอขอบคุณอาจารย์มากเลยค่ะสำหรับการให้คำปรึกษาอย่างรวดเร็ว ส่วนคำแนะนำที่อาจารย์ให้มาหนูจะลองเอาไปปฏิบัติใช้ดูค่ะขอบคุณค่ะ

ซี
5 กรกฎาคม 2562 17:34
Post อันดับที่ 4

ตอบกระทู้


กลับด้านบน